หน้าหลัก > รู้จัก ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1
 ★รู้จัก ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1



 

     ในปี พ.ศ. 2443 งานวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรี
ดิเรกฤทธิ์ (พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14  ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาจุฬาลงกรณ์ 
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาตลับ โดยในขณะนั้น ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม  
โดยทรงตั้ง “กองพิมพ์ลายนิ้วมือ”  ขึ้นมา สำหรับตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา อันเป็นจุดเริ่มต้น ของการตรวจพิสูจน์ยืนยัน
ตัวบุคคล
 

     ปี พ.ศ. 2444 จัดให้มีการพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ ของนักโทษที่จะพ้นโทษเก็บไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน ในการยืนยันตัวบุคคล
ว่าได้เคยกระทำความผิดมาก่อน  ดังนั้นพระองค์จึงเปรียบเสมือน “บิดาวิชาลายพิมพ์นิ้วมือ “
 


     ในปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชโองการให้จัดวางโครงการตำรวจขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อ

กรมตำรวจภูธร เป็นกรมตำรวจ และให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จัดแบ่งแผนกงานรายย่อยตามความเหมาะสม ซึ่งได้มีการจัด
แผนกวิทยาการ อยู่ในสังกัดเป็นกองที่สามของตำรวจสันติบาล
 

     ปี พ.ศ. 2482 มีการขยายงานวิทยาการไปสู่ส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก โดย พล.ต.ต. หลวงพิสิฐวิทยากร (ขณะนั้น ยศ พ.ต.ท.) 
ได้ขยายงานทะเบียนพิมพ์ลายนิ้วมือไปตั้งที่ภาคต่างๆ
 

     เขตเหนือ                                         ตั้งที่                        พิษณุโลก

     เขตใต้                                             ตั้งที่                        สงขลา

     เขตตะวันออก                                   ตั้งที่                        นครราชสีมา

     เขตตะวันออกเฉียงเหนือ                     ตั้งที่                        อุดรธานี
 

     ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ได้มีการปรับปรุง และขยายงานของกรมตำรวจ ได้จัดตั้งกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และ
ให้งานด้านวิทยาการ มาขึ้นตรงกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

 

 

     ในปี พ.ศ. 2500     องค์การบริหารวิเทศกิจ  สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (U.S.O.M.) ได้ให้ความช่วยเหลืองานด้าน
วิทยาการตำรวจ  ตำรวจภูธร ไต่สวนผู้ร้ายฆ่า นายพรมมา และบุตร   ณ  บริเวณที่ว่าการอำเภอพิมาย  มณฑลนครราชสีมา
 

     ปี พ.ศ. 2503 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ปรับปรุงหน่วยงานใหม่ โดยยุบ “กองวิทยาการ” ออกจากสาระบบ
ทำเนียบราชการตำรวจ และแยกงานของกองนี้ออกเป็น 2 กอง คือ กองพิสูจน์หลักฐาน และ กองทะเบียนประวัติอาชญากร
โดยขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ ตั้งแต่ 13 กันยายน 2503
 

     ปี พ.ศ. 2509 ได้ขยายงานวิทยาการออกสู่ภูมิภาค โดยได้รับความช่วยเหลือจากยูซ่อม

     ปี พ.ศ. 2519 คำสั่งคณะปฏิรูปที่ 45 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 จัดตั้งกองบังคับการตำรวจภูธรขึ้น ในส่วนภูมิภาคตามจังหวัด
ต่างๆ จำนวน 12 กองบังคับการ

     ปี พ.ศ. 2523   มีการจัดตั้งคณะทำงานปรับปรุงงานวิทยาการตำรวจ    เพื่อพัฒนาขีดความสามารถงานวิทยาการตำรวจใน
ส่วนภูมิภาค

     ปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ กำหนดตำแหน่งผู้บัญชาการประจำ กรมตำรวจ (ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงาน
วิทยาการตำรวจ) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมบริหารงานของหน่วยงานวิทยาการทั้งหมด
 

     ต่อมาปี พ.ศ. 2535  ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจใหม่ โดยรวมหน่วยงานด้านวิทยาการตำรวจ ซึ่งได้แก่
กองพิสูจน์หลักฐาน กองทะเบียนประวัติอาชญากร และงานวิทยาการในส่วนภูมิภาค ขึ้นเป็น สำนักงานวิทยาการตำรวจ (สวท.)
ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ จึงทำให้สำนักงานวิทยาการตำรวจ (สวท.) ได้ถือกำเนิดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  โดยได้แบ่งแยก
การทำงานออกเป็นหน่วยงานย่อย ในระดับ กองกำกับการเขต และวิทยาการจังหวัด
 

     ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2538  ได้มีการคำสั่งให้ตั้งหน่วยงาน “วิทยาการจังหวัดปทุมธานี”  ขึ้น โดยมีที่ตั้งอยู่ในอาคาร
สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี  อ.เมือง จ.ปทุมธานี  มีหน้าที่ และความรับผิดชอ บเกี่ยวกับงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ และ
ถ่ายรูปงานทะเบียนประวัติอาชญากร  การตรวจพิสูจน์ยาเสพติดให้โทษ ตลอดจนให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจท้องที่  
 

     ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ได้มี พ.ร.ฏ.แบ่งส่วนราชการใหม่ ให้ “สำนักงานวิทยาการตำรวจ“ เปลี่ยนชื่อเป็น
“สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ“  มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งระบบ  โดยมีการตั้งหน่วยงานใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากและ
ได้ยกฐานะของ “วิทยาการจังหวัดปทุมธานี” เป็น “ วิทยาการเขต 11” รับผิดชอบพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี  นนทบุรี 
และสมุทรปราการ
 

     ในวันที่ 7 กันยายน 2552  ได้มี พ.ร.ฏ.แบ่งส่วนราชการใหม่ ให้  “สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ“ เปลี่ยนชื่อเป็น
“สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ“ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งระบบ ให้มีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้ง
ให้สอดคล้องกับพื้นที่ของตำรวจภูธรภาคต่างๆ  โดยมีการยกฐานะของหน่วยงานขึ้นส่วนหนึ่ง ซึ่ง วิทยาการเขต 11 ได้รับการ
ยกฐานะขึ้นเป็น ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 รับผิดชอบพื้นที่ 9 จังหวัด คือ ปทุมธานี  นนทบุรี  สมุทรปราการ  อยุธยา สระบุรี ลพบุรี
สิงห์บุรี อ่างทอง และชัยนาท
 



 

     ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 เดิม ตั้งอยู่ที่  เลขที่  50 หมู่ 21 ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี  เป็นอาคารไม้สัก อายุกว่า 100 ปี 
เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม สวยงาม โดยได้มีการปรับปรุงพัฒนา และผสมผสานให้เข้ากับการก่อสร้างสมัยใหม่ ทำให้
มีความสวยงาม ทันสมัยและกลมกลืนกับธรรมชาติ สร้างบรรยากาศในการทำงานได้เป็นอย่างดี

     ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ 19/75 หมู่10 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี12120

^     Top

01ตรวจสอบผลการพิสูจน์

02ภาระกิจทีม SCDC1

03สาระความรู้